วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556



คดีปราสาทเขาพระวิหารในอดีต




         คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับราชอาณาจักรสยามอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น[2]

       
            ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการสยามได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map) )



           กระนั้น สยามไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง[2] ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน
         ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว[2]

ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว[2] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา[2] แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรสยาม แต่สยามยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป[2] เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)

ปี พ.ศ. 2501 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่งเจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลสยามและไทยมาก่อน



ข่าวเขาพระวิหาร คดีเขาพระวิหาร 2556





 ไทย เตรียม 4 ยุทธศาสตร์ ชี้แจงต่อศาลโลกบ่ายวันนี้ (17 เมษายน) สู้คดีเขาพระวิหาร มั่นใจ ศาลไม่มีอำนาจตัดสินเขตแดน ด้านทีมสู้คดีเตรียมปรับเนื้อหาบางส่วนให้มีน้ำหนักมากกว่าที่กัมพูชาพูด 

           เมื่อวันที่ 16 เมษายน นายไกรรวี ศิริกุล รองอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการต่อสู้คดีเขาพระวิหารว่า คณะดำเนินด้านกฎหมายต่อสู้คดีของไทย จะใช้ 4 ยุทธศาสตร์ ในการชี้แจงต่อศาลโลกในวันที่ 17 เมษายนนี้ ประกอบด้วย

           1. พยายามชี้ให้ศาลโลกเห็นว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณา และกัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้อง

           2. กัมพูชาไม่สิทธิยื่นศาลเพื่อขอตีความคำตัดสินคดีเดิมในรูปแบบการอุทธรณ์ที่ ซ่อนมาในรูปของคำขอตีความ ซึ่งขัดต่อธรรมนูญของศาลโลกและขัดต่อแนวคำพิพากษาเดิม ในคดีปี 2505

           3. ไทยปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกครบถ้วน และไทยและกัมพูชา ไม่มีข้อพิพาทเรื่องการตีความคำพิพากษา

           และ 4. คำตัดสินเมื่อปี 2505 ศาลได้กล่าวถึงอธิปไตยเหนือตัวปราสาทพระวิหาร โดยไม่ได้ระบุถึงเส้นเขตแดน ดังนั้น พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาเรียกร้องในปัจจุบัน ไม่ใช่บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร 


           ทั้งนี้ มั่นใจว่า 4 ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสามารถหักล้างข้อโต้แย้งของฝ่ายกัมพูชาได้ เพราะไทยจะพยายามชี้ว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาและไม่อาจรับคำร้องของกัมพูชาได้ และถ้าศาลเห็นว่าศาลมีอำนาจรับคำขอได้ ก็ไม่มีเรื่องอะไรที่จะต้องตีความ เพราะศาลปฏิเสธการตีความเรื่องเขตแดนมาตั้งแต่คำพิพากษาเดิม หากศาลโลกมีอำนาจในการกำหนดเส้นเขตแดนก็คงตัดสินไปตั้งแต่ปี 2505 แล้ว ไม่ปล่อยให้ผ่านมาเนิ่นนานเช่นนี้
           โดยไทยได้เปิดรายชื่อคณะที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศของไทย 3 คน ที่จะขึ้นให้ถ้อยแถลง เพื่อต่อสู้คดีเขาพระวิหาร ดังนี้

             ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด อาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศ ผอ.ศูนย์วิจัยกฎหมาย
             ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ สมาชิกศาลประจำอนุญาโตตุลาการ และทนายความของรัฐบาลนิวซีแลนด์
             ศ.อลังเปลเล่ต์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยปารีส



สำหรับการให้ถ้อยแถลงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในคดีปราสาทพระวิหาร ของฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา ได้เริ่มต้นขึ้นเวลาประมาณ 15.00 น. หลังที่พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เริ่มออกนั่งบัลลังก์ เพื่อรับฟังการให้ถ้อยคำแล้ว ทั้งนี้ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ได้ขึ้นให้ถ้อยคำ ในส่วนของประเทศกัมพูชา

         โดยนายฮอร์ นัมฮง ได้กล่าวถึง สาเหตุและปัจจัยที่นำคำพิพากษาเก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้วมาร้องขอการพิจารณาใหม่ว่า การกระทำดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่ซ้ำซาก แต่มีความจำเป็นที่ต้องกลับมาที่ศาลแห่งนี้ เพื่อตีความคำพิพากษาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต พร้อมกล่าวโทษไทย กรณีในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่ ได้รุกรานกัมพูชาจนก่อให้เกิดการปะทะกันในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร และจากการรุกรานดังกล่าวส่งผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อทรัพย์สินและชีวิต ของคนในทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ กัมพูชา ขอยืนยันว่า เรื่องเขตแดนได้มีข้อยุติไปแล้วในเอกสารท้ายคำสั่งของศาลในปี 1962 ไปแล้ว
         ต่อมา ทนายความของฝ่ายกัมพูชา ได้กล่าวชี้แจงต่อว่า ตั้งแต่แรกทั้ง 2 ประเทศ ได้ยอมรับคำตัดสินของศาลในแผนที่ภาคผนวก 1 แต่ไทยกลับพยายามสร้างความสับสน โดยอ้างแผนที่อีกฉบับขึ้นมา ซึ่งก่อให้เกิดมีการรุกรานพื้นที่ แม้ว่า ทางกัมพูชา ได้ใช้วิธีการเจรจาทางการทูต แต่ไทยกลับพยายามตีความฝ่ายเดียว ซึ่งมีการใช้คำพูดเสียดสีก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศกัมพูชา และกัมพูชา ขอยืนยันว่า การขอให้ศาลตีความครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อการปักปันเขตแดน แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนและลดความขัดแย้ง ให้ดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พร้อมตั้งข้อสังเกตอีกว่า หากไทยกระทำการขัดต่อคำสั่งของศาลโลก ก็เปรียบเสมือนการไม่ยอมรับอำนาจของศาลมาโดยตลอด






ลำดับเหตุการณ์ ยาวนานกว่า 50 ปี ปมพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร
               15 มิถุนายน 2505 ศาล โลกมีมติด้วยคะแนน 9 ต่อ 4 เสียง ให้กัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร และให้เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยถอนกำลังออกจากปราสาท และบริเวณใกล้เคียง พร้อมกับคืนวัตถุโบราณทั้งหมด ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย เนื่องจากเห็นว่าการตัดสินดังกล่าวไม่ยุติธรรม เพราะศาลโลกพิจารณาตัดสินเพียงแผนที่ฉบับเดียวเท่านั้น

               10 กรกฎาคม 2505 คณะรัฐมนตรีมีมติ กำหนดเส้นขอบเขต และถอนกำลังทหาร-เจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกมาจากปราสาทและพื้นที่ใกล้เคียง
     
               14 มิถุนายน 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนาม MOU สำรวจจัดทำเขตแดนสำหรับไทยกัมพูชา
     
               18 มิถุนายน 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ร่วมแถลงกับ นายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในการร่วมมือพัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร ร่วมกับองค์กรยูเนสโก

               ปี 2549 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เจรจาปักเขตแดน ระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต โดยไทยยินดีที่จะให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก

               ปี 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา เดินทางมาเยือนไทยเพื่อหารือเรื่องการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีการทักท้วงจากสภากลาโหมของไทยว่า กัมพูชาสร้างหลักฐานหวังฮุบพื้นที่
     
               ปี 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนของกัมพูชาแต่อย่างใด พร้อมยอมเลื่อนจุดปักเขตแดนอีก 3 กิโลเมตร ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำแผนที่รอบปราสาทเขาพระวิหารใหม่ที่ทางกัมพูชาเสนอเข้าที่ประชุมสภาความ มั่นคงแห่งชาติ แต่มีกองกำลังบูรพาคัดค้าน เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยเสี่ยงต่อการเสียดินแดน

               18 มิถุนายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย กัมพูชา ตามที่ นายนพดล ปัทมะ นำเสนอ แต่ศาลปกครองกลางพิจารณาให้แถลงการณ์เป็นโมฆะ เพราะยังไม่ได้มีการเสนอต่อที่ประชุมสภาฯ ก่อน อีกทั้งยังมีเหตุกระทบต่อความมั่นคง และอาณาเขตของประเทศไทย
     
               15 ตุลาคม 2551 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณผามออีแดง จ.ศรีสะเกษ
     
               ปี 2553 รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คัดค้านบริหารของกัมพูชา พร้อมส่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ ให้คัดค้านแผนที่โดยรอบ ต่อกรรมการมรดกยูเนสโก ที่ประชุมอยู่ประเทศบราซิล

               29 ธันวาคม 2553 นาย วีระ สมความคิด, นางราตรี พิพัฒนาไพบูลย์, ร้อยเอกแซมดิน เลิศบุศย์ ถูกสั่งจำคุกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร 

               เมษายน 2554 ทหารไทยและทหารกัมพูชาปะทะกันหลายครั้ง บริเวณปราสาทตาควาย และพนมดงรัก ทำให้ทหารทั้งสองฝ่ายได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายนาย

               28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นให้ศาลโลกตีความ คดีปราสาทเขาพระวิหาร และให้ออกมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังออกจากพื้นที่

               18 กรกฎาคม 2554 ศาล โลกได้ออกมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ ให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่พิพาท และยินยอมให้อาเซียนเข้าสำรวจพื้นที่ และห้ามให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดข้อพิพาทร่วมกันอีก 

               18 ตุลาคม 2554 รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบให้ปฏิบัติตามคำสั่งชั่วคราวของศาลโลก โดยใช้ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา โดยมีสองฝ่ายเป็นประธานร่วมกัน
     
                21 พฤศจิกายน 2554 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับแรก เป็นข้อสังเกตโดยโต้แย้งคำของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา 2505

                21 ธันวาคม 2554 ที่ประชุม JBC ไทยกัมพูชาครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ มีมติจัดตั้งคณะทำงานร่วม  JWG เพื่อหารือเรื่องปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราว
     
                21 มิถุนายน 2555 ไทยยื่นเอกสารข้อเขียนฉบับที่ 2 อธิบายโต้แย้งคำตอบของกัมพูชา มีมติให้เก็บกู้ระเบิดร่วมกัน ในพื้นที่ที่จำเป็นต่อเขตปลอดทหารชั่วคราว ก่อนปรับกำลังทหารออกจากพื้นที่ โดยให้คณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้าร่วม

                18 กรกฎาคม 2555 ไทยกัมพูชาปรับกำลังทหาร

                17 ธันวาคม ที่ประชุม JWG เตรียมแผนเก็บกู้ระเบิด

                15-19 เมษายน 2556 ศาลโลกนัดไทย-กัมพูชา กล่าวถ้อยคำแถลงฝ่ายละ 2 รอบ

                กันยายน-ตุลาคม 2556 คาดว่าศาลโลกตัดสิน

 หลังศาลโลกพิพากษาตัดสินไม่เป็นบวกต่อไทย ซึ่งหลังจากนี้ประชาชนได้จับตาการทำงานและทีท่าของกองทัพ และรัฐบาลไทยว่าจะทำอย่างไรต่อไป
             ปราสาทพระวิหาร เป็นปราสาทที่ถูกสร้างขึ้นในหลายรัชสมัยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอมจึงจะแล้วเสร็จ โดยเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ซึ่งปกครองอาณาจักรในช่วงปี พ.ศ. 1345-1388
              จากนั้นมีการต่อเติมสร้างส่วนต่างๆ ของปราสาทเรื่อยมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1581 ส่วนในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ได้มีการสร้างต่อเติมปรับปรุงระเบียงคด
               ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ซึ่งปกครองราชอาณาจักรในปี พ.ศ.1656-1693 หลังจากรัชสมัยของพระองค์ปราสาทพระวิหารก็ไม่ได้มีการสร้างอะไรเพิ่มเติม
                ปราสาทพระวิหารคงความเป็นศาสนสถานแห่งศรัทธาของผู้คนในภูมิภาคนี้ จนกระทั่งในยุคล่าอาณานิคมที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองประเทศกัมพูชา (และลาว เวียดนาม) ในอินโดจีน อันนำมาสู่ความขัดแข้งระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ พร้อมๆ กับระเบิดเวลาเรื่องข้อพิพาทในเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ปรากฏเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                      -พ.ศ. 2483 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม พบว่าพรมแดนเขตนี้ใช้ลำห้วยเป็นเส้นเขตแดนแทนที่จะเป็นสันปันน้ำ จึงได้มีความพยายามขอแก้ไขการปักปันเขตแดนในส่วนนี้กับฝรั่งเศส
                       -พ.ศ. 2484 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ กองทัพญี่ปุ่นในฐานะของมหามิตร เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสอินโดจีน กรณีรัฐบาลไทยโดยการนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม กรีธาทัพเข้ายึดดินแดนที่เคยเสียไปสมัยรัชกาลที่ กลับคืนมา ทำให้ไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไป (รวมทั้งปราสาทเขาพระวิหาร) กลับคืนตามสนธิสัญญาโตกิโอ แต่ภายหลังจบสงครามโลกครั้งที่ รัฐบาลไทยเพื่อหลีกสถานะผู้แพ้สงครามจึงต้องคืนดินแดนดังกล่าวกลับให้ฝรั่งเศส
      



                -พ.ศ. 2492 กัมพูชากับฝรั่งเศสร่วมกันคัดค้านอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทเขาพระวิหารของประเทศไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร
               -พ.ศ. 2501 เริ่มมีความเคลื่อนไหวของกัมพูชาเกี่ยวกับปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ตลอดจนการโต้ตอบทางหนังสือพิมพ์ของไทยและกัมพูชา เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน รัฐบาลไทยประกาศสภาวะฉุกเฉินทางชายแดนไทยด้านกัมพูชารวม จังหวัด คือ จันทบุรี ปราจีนบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอำเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี ในปลายปีเดือนธันวาคม กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย
               -6 ต.ค. 2502 รัฐบาลกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลโลกให้วินิจฉัย กรณีอำนาจอธิปไตยเหนือ
               -15 มิ.ย. 2505 ศาลโลกพิพากษาให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตอำนาจอธิปไตยของประเทศกัมพูชา
               -พ.ศ. 2513-2518 กัมพูชาภายใต้การนำของรัฐบาลลอนนอล ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยขึ้นใหม่และเปิดปราสาทเขาพระวิหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับบุคคลทั่วไป               -พ.ศ. 2518-2534 ภายหลังการล่มสลายของรัฐบาลลอนนอลและเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างเขมรฝ่ายต่างๆ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขึ้นชมปราสาทเขาพระวิหาร
               -พ.ศ. 2535 กัมพูชาเปิดปราสาทเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังการยุติลงของสงครามกลางเมือง
                -พ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเรื่องขอให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ในที่ประชุมองค์การยูเนสโก ณ เมืองไครส์เชิร์ต ประเทศนิวซีแลนด์ และไทยยื่นเรื่องคัดค้านโดยอ้างถึงเรื่องความเชื่อมโยงของปราสาทเขาพระวิหารกับปราสาทหินอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย ทำให้องค์การยูเนสโกจึงยุติเรื่องไว้ก่อนเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปใหม่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2551
-22 พ.ค. 2551 ในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคือนายนพดล ปัทมะ” กับรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา มีการทำข้อตกลงร่วมกัน ข้อ โดยไม่ได้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อันเป็นที่มาของการเซ็นสัญญายินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งก่อให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลไทยและการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก               -พ.ศ. 2551 การประชุมใหญ่องค์การยูเนสโก เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 พิจารณาคำร้องปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาอีกครั้งหนึ่ง และล่าสุด กรกฎาคม2551 องค์การยูเนสโกมีมติอนุมัติให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา
               -17 เม.ย. 2556 ทีมกฎหมายฝ่ายไทย นำโดย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ กล่าวถ้อยแถลงด้วยวาจาตอบโต้ข้อกล่าวหาของกัมพูชาที่ได้แถลงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2556 ประเด็นสำคัญคือการแสดงให้เห็นว่าไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 อย่างครบถ้วน และข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลมาจากการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา 
              -11 พ.ย. 2556 ศาลโลกตัดสินไม่เป็นบวกต่อประเทศไทยอีกครั้ง โดยยืนความตามคำพิพากษาในปี 2505 ตามที่กัมพูชาร้องขอ พร้อมระบุให้เขตอธิปไตยของกัมพูชาครอบคลุมถึงชะง่อนผา แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงภูมะเขือ ให้ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร แล้วให้ 2ชาติต้องไปตกลงแผนปกป้องมรดกโลกภายใต้การดูแลของยูเนสโก